สรุป


           ภาษาพูด คือ ภาษาที่ผู้ใช้ภาษาใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันด้วยการพูดนั่นเอง การใช้ภาษาพูดควรคำนึงถึงความเหมาะสมของฐานะบุคคลและกาลเทศะด้วย
          ภาษาเขียน คือ ภาษาที่เป็นลายลักษณ์อักษรบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ประกอบด้วยสาระที่นำมาอ้างอิงได้ใช้มาตรฐาน การใช้ภาษาเขียนควรเลือกใช้ถ้อยคำที่เหมาะสม ไม่มีคำที่เป็นกันเองเหมือนภาษาพูด ในปัจจุบันเราจะพบว่า มีผู้นำภาษาพูดมาใช้ปนกับภาษาเขียน “ภาษาพูด” ที่ผู้ใช้ภาษา ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ใน “ภาษาเขียน” มีหลายลักษณะ ได้แก่
                    - ใช้ภาษาเขียนตามที่ออกเสียงจริง เช่น คำที่ออกเสียง “พ้ม” มักใช้รูปเขียน “พ้ม” รูปเขียนที่ถูกต้องคือ ผม
                   - ใช้ภาษาที่พูดแบบไม่เป็นทางการเป็นภาษาเขียน เช่น ตีตั๋ว ดูหนัง ล้วนเป็นภาษาพูด เมื่อจะนำมาใช้เป็นภาษาเขียนควรปรับภาษาพูดให้เป็นภาษาเขียน
                   - การพูดเป็นตัวอักษรตามบท เช่น ภาษาเขียน “นสพ. รายวัน” ภาษาพูดควรใช้ว่า “หนังสือพิมพ์รายวัน” โดยปกติแล้วคำย่อหรืออักษรย่อนำมาใช้ในภาษาเขียนเพื่อประหยัดเวลา และพื้นที่ในการเขียน เมื่อนำมาใช้พูดคำย่อต่าง ๆ ต้องพูดให้เต็มคำ ยกเว้นคำที่พูดเต็มคำแล้วยาวมากหรือเข้าใจยาก อนุโลมให้พูดแบบภาษาเขียนได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น