ภาษาพูดและภาษาเขียนแตกต่างกันอย่างไร


         ๑. ภาษาเขียนใช้ถ้อยคาตามแบบแผนที่กาหนด

                             ภาษาเขียน                                 ภาษาพูด
                                      สัปดาห์หน้า                             อาทิตย์หน้า
                                      ตักบาตร                                 ใส่บาตร
                                      ฌาปนกิจ                                 เผาศพ
                                      มากมาย                                  เยอะแยะ

          ๒. ภาษาเขียนจะไม่ใช้คำลงท้ายที่แสดงความรู้สึก เช่น ซิ นะ ละ เถอะ ฯลฯ  หรือคำแสดงการเรียกขาน หรือคำขานรับ เช่น คะ ขา จ๋า ครับ ฯลฯ
          ๓. คำบางคำในภาษาเขียนที่มีความหมายเป็นคำถาม และคำสรรพนามบางคำยังคงสะกดตามที่เคยใช้กันมา ไม่สะกดตามการออกเสียงในปัจจุบัน เช่น
                                 ภาษาเขียน                            ภาษาพูด
                                      หรือ                                   รึ, เหรอ, เรอะ
                                      อย่างนี้                                ยังงี้, งี้
                                      เท่าไร                                 เท่าไหร่
                                      เขา                                    เค้า
                                      อย่างไร                               ยังไง, ไง

          ๔. ภาษาพูดเป็นภาษาเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะวัย เช่น
                                ภาษาพูด                               ภาษาเขียน
                                      วัยโจ๋                                   วัยรุ่น
                                      เจ๋ง                                     เยี่ยมมาก
                                      แห้ว                                    ผิดหวัง
                                      เดี้ยง                                   พลาดและเจ็บตัว
                                      มั่วนิ่ม                                  ทำไม่จริงจังและปิดบัง

          ๕. ภาษาพูด มักเป็นภาษาไทยแท้ คือ ภาษาชาวบ้าน เข้าใจง่าย เป็นภาษากึ่งแบบแผน เช่น
                                 ภาษาพูด                             ภาษาเขียน
                                      ผัวเมีย                                 สามีภรรยา
                                      ดาราหนัง                              ดาราภาพยนตร์
                                      ปอดลอย                               หวาดกลัว

          ๖. ภาษาพูดมักเปลี่ยนแปลงเสียงสระและเสียงพยัญชนะ รวมทั้งนิยมตัดคาให้สั้นลง เช่น
                                 ภาษาพูด                            ภาษาเขียน
                                      เริ่ด                                    เลิศ
                                      เพ่                                     พี่
                                      จิงอะป่าว                             จริงหรือเปล่า
                                      บ่งตง                                  บอกตรงๆ

          ๗. ภาษาพูดสามารถแสดงอารมณ์ของผู้พูดได้ดีกว่าภาษาเขียน คือ   มีการเน้นระดับเสียงของคำให้
สูง – ต่ำ – สั้น - ยาว ได้ตามต้องการ เช่น
                                  ภาษาพูด                            ภาษาเขียน
                                      ตาย                                    ต๊าย                         
                                       บ้า                                     บ๊า                         
                                      ใช่                                      ช่าย
                                      เปล่า                                   ปล่าว 

          ๘. ภาษาพูดนิยมใช้คำช่วยพูดหรือคำลงท้าย    เพื่อช่วยให้การพูดนั้นฟังสุภาพและไพเราะยิ่งขึ้น  เช่น   ไปไหนคะ  ไปตลาดค่ะ   รีบไปเลอะ   ไม่เป็นไรหรอก  นั่งนิ่งๆ ซิจ๊ะ
          ๙. ภาษาเขียน เมื่อเขียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว   ผู้เขียนไม่มีโอกาสแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้  แต่ถ้าเป็นภาษาพูด ผู้พูดมีโอกาสชี้แจงแก้ไขในตอนท้ายได้
          ๑๐. คำในภาษาเขียนจะไม่ใช้คำย่อ ตัดคำ เช่น
                                  ภาษาเขียน                              ภาษาพูด            
                                       มหาวิทยาลัย                             มหาลัย. หมาลัย
                                       รับประทาน                              กิน, หม่ำ, เจี๊ย, อ้ำ, สวาปาม, แดก
                                       โทรศัพท์                                  โทรฯ
                                       กิโลเมตร, กิโลกรัม                       กม., กก.

5 ความคิดเห็น: